วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Serial Console ของ nlink Router(True online)

วันนี้ผมมาเสนอวิธีการเข้าใช้งาน Serial Console ของ nlink Router รุ่นที่แถมจากการสมัคร True Online ซึ่งอาจจะพอเป็นประโยชน์บ้างครับ

รูปที่ 1 nlink Router
จากรูปที่ 1 ผมได้แกะบอร์ดข้างในออกมา จะพบว่ามีขาเชื่อมต่อ 4 ขาอยู่ด้านหน้าไอซีตัวใหญ่ จากการลองก็พบว่าขาต่างๆมีหน้าที่ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 ตำแหน่งของขาสัญญาณ
ในการทดลองนี้ผมต่อพอร์ต Serial ของ Router เข้ากับ USB to Serial ซึ่งเป็นสัญญาณแบบ TTL 3.3v อยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องแปลงสัญญาณเป็น RS-232 อีก เมื่อต่อเชื่อมเรียบร้อยก็เปิดโปรแกรม Putty เลือก การเชื่อมต่อแบบ Serial และตั้ง Baudrate เป็น 115200 ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 การตั้งค่า Putty
หลังจากนั้นคลิก Open แล้วเปิด Router จะพบตัวอักษรต่างๆ ขึ้นมา ให้รอจนกระทั่งขึ้นข้อความว่า "Got PID 197 from TR069"  ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 ข้อความต่างๆ ตอน Boot
หลังจากนั้นให้กด Enter 2 ครั้งเพื่อเข้าสู่หน้า Login โดยชื่อ Login คือ admin และใช้ Password คือ password จะปรากฎผลลัพธ์ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 หน้า console แรก
หลังจากนั้น พิมพ์คำสั่ง sh กด enter จะปรากฎหน้า console ของ busybox เป็นอันเสร็จสิ้นการเข้าใช้งาน Serial console ครับ

รูปที่ 6 หน้า Serial console ของ Busybox

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตั้งเวลาคอมพิวเตอร์ให้ตรงกับ Server

โปรแกรมตัวนี้ผมเขียนด้วย VB2010 โดยรับค่าวันที่และเวลาจาก time.navy.mi.th ติดต่อโดยใช้ Daytime Protocol โดย Protocol ตัวนี้ทำงานบน TCP พอร์ต 13 หลักการของ Protocol นี้ไม่ซับซ้อนครับ โดยมีลำดับขั้นตอนดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ลำดับการทำงานของ Daytime Protocol
จากรูปที่ 1 เป็นรายละเอียดที่ได้จากโปรแกรม Wireshark จะเห็นได้ว่าที่

  1. Packet ลำดับที่ 190 ตัว Client ซึ่งก็คือเครื่องของเราได้ทำการส่งคำขอ syn กับ Server 
  2. Packet ลำดับที่ 192 คือการตัวกลับจาก Server ด้วยการ syn และ ack
  3. Packet ลำดับที่ 193 ตัว Client ทำการ ack กลับ เป็นการเสร็จขั้นตอนในการทำ 3-way handshake ของ TCP
  4. Packet ลำดับที่ 198 ตัว Server ส่งข้อมูลวันที่ให้กับ Client 
  5. Packet ลำดับที่เหลือเป็นการบอกหยุดการติดตอระหว่าง Client และ Server
ในส่วนของข้อมูลที่ส่งใน Protocol จะเป็นวันที่และเวลาที่ส่งมาในรูปแบบข้อความธรรมดา สามารถนำไปแสดงผลได้ในทันที

รูปที่ 2 ข้อมูลวันที่และเวลาที่มาจาก Server
ในส่วนของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมามีหน้าตาดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 หน้าตาของโปรแกรมทดสอบ

ตัวโปรแกรมมีสองฟังก์ชันการทำงานคือ

  1. อ่านค่าเวลาจาก Server
  2. อ่านค่าเวลาจาก Server พร้อมทั้งตั้งเวลาเครื่อง Client ให้ตรงกับ Server
โปรแกรมตัวนี้ต้องการสิทธิ์ Administrator ในการตั้งเวลาตัวเครื่อง โดยเครื่องที่ใช้งานต้องมี .net framework เวอร์ชัน 2.0 ขึ้นไป เครื่องที่ทดสอบมีระบบวันที่แบบพุทธศักราช ไม่ได้ทดสอบกับเครื่องที่มีปีแบบคริสตศักราช ซึ่งอาจจะมีผลต่อการทำงานของโปรแกรมครับ


แหล่งข้อมูล